1. โครงสร้างมีน้ำหนักมาก:
เมื่อใช้ระบบสปริงจะมีสปริงขนาดใหญ่อยู่ในแกนเพลา
เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนจึงมีน้ำหนักมาก
อาจไม่รองรับกับโครงสร้างของวงกบหน้าต่าง
ซึ่งจะแตกต่างกับการติดตั้งแบบประตูม้วนที่ยึดโครงสร้างไว้กับเสาคานที่มี
ความแข็งแรงอยู่แล้ว
2. กล่องมีขนาดใหญ่เกินไป: แผ่นเพลตมีขนาดใหญ่เริ่มต้นที่ 35x40 cm. ทำให้หน้าต่างม้วนกับตัวบ้านไม่สมส่วนและดูไม่สวยงาม
3. ตีนล่างไม่ได้ถูกออกแบบให้เป็นหน้าต่าง: ตีนล่างประตูม้วนระบบสปริงจะใช้ระบบเหล็กฉากเจาะรู เพื่อใช้กับงานล็อคแบบกุญแจสายยูยึดเข้ากับพื้น แต่สำหรับหน้าต่างจะไม่มีพื้นมารองรับ จึงอาจต้องทำฐานจับยึดลอยๆไว้ ซึ่งจะส่งผลให้บ้านดูมีความสวยงามน้อยลง
4. การใช้งานแบบดึงกระชากของระบบสปริงทำให้โครงสร้างหน้าต่างม้วนเสียหาย: โดยปกติเมื่อจะปิดประตูม้วนระบบสปริงจะใช้ขอเกี่ยวในการดึงประตูม้วนจากบนลงล่าง ซึ่งจะแตกต่างกับหน้าต่างม้วนที่ต้องดึงในลักษณะเฉียงลง การดึงในลักษณะนี้บ่อยๆจะทำให้โครงสร้างได้รับความสะเทือนมากกว่าปกติ และเมื่อปล่อยประตูม้วนบานจะม้วนเก็บด้วยความเร็วของสปริง ซึ่งอาจทำให้โครงสร้างได้รับความเสียหายได้
5. ออกแบบให้หน้างานมีความสวยงามได้ยาก: โครงสร้างทั่วไปของประตูม้วนระบบสปริงทำจากเหล็กดำและเหล็กซิงค์ หากนำมาใช้กับหน้าต่างจึงต้องทาสีรองพื้นทับอีกชั้น คุณภาพสีที่ได้จึงแตกต่างจากสีอบที่มีความเนียน และมีสวยงามมากกว่า
6. เกิดความรู้สึกติดลบเมื่อปิดหน้าต่างม้วน: เมื่อปิดหน้าต่างม้วนลงมาจนสนิท อาจทำให้เจ้าของบ้านรู้สึกถึงความไม่สบายสายตา เนื่องจากสีของบานประตูจะเหมือนกับอาคารพาณิชย์ ทำให้ตัวบ้านถูกลดความสวยงามลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
7. การใช้งานยากต่อผู้สูงอายุ และอาจเป็นอันตรายได้: โดยปกติผู้สูงอายุก็ไม่ควรใช้ประตูม้วนระบบสปริงอยู่แล้ว เพราะต้องใช้แรงมากในการยกขึ้นหรือฉุดลง ซึ่งอาจทำให้ผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องสุขภาพ เช่น อาจทำให้ปวดหลังได้
8. ความเบื่อหน่ายในการเปิด-ปิด: การทำงานของหน้าต่างม้วนระบบสปริงอาจต้องใช้เวลาในการเปิด-ปิดนาน เพราะด้วยการล็อคแบบสายยู ผู้ปิดจะต้องทำให้ตีนล่างตรงกับตัวล็อคฝังพื้น เพื่อให้ล็อคด้วยกุญแจได้ และเมื่อเปิดหน้าต่างม้วนจะต้องใช้ไม้ประคองหน้าต่างม้วนขึ้นจนสุด เพื่อไม่ให้โครงสร้างของหน้าต่างม้วนได้รับความสะเทือน
9. การติดตั้งต้องใช้ระบบงานเชื่อมเหล็ก: ประตูม้วนระบบสปริงถูกออกแบบในการติดตั้งให้มีการเชื่อมไว้หลายจุด เช่น หูรับเพลา,หูจับเพลา,กลอนล็อค,ฝังพื้น ฯลฯ ซึ่งข้อบังคับนี้อาจส่งผลให้ตัวบ้านได้รับความเสียหายได้
10. ไม่สามารถควบคุมให้ประตูม้วนหยุดในตำแหน่งที่ต้องการได้: ประตูม้วนระบบสปริงเมื่อปิดประตู เกลียวของสปริงจะหมุนเป็นขด เมื่อเปิดประตูม้วนแรงคลายตัวของสปริงจะคลายตัวจนสุดเสมอ จึงไม่สามารถควบคุมให้ประตูหยุดในตำแหน่งที่ต้องการได้ ซึ่งเท่ากับว่าไม่สามารถดึงหน้าต่างม้วนลงมาเพื่อทำเป็นม่านบังแดดเฉพาะจุดได้
สงวนลิขสิทธิ์ทั้งบทความโดยผู้เขียน
ลิขสิทธิ์ภาพถ่ายทั้งหมดเป็นผลงานของผู้เขียน
ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต
เผยแพร่ครั้งแรกใน www.vcshutter.com 24 กุมภาพันธ์ 2558
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น